วันอาทิตย์ที่ 31 มกราคม พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวในเฮติ ปี พ.ศ. 2553

แผ่นดินไหวในเฮติ ปี พ.ศ. 2553









       แผ่นดินไหวในเฮติ เป็นเหตุการณ์แผ่นดินไหวที่มีความรุนแรง 7.0 ตามมาตราริกเตอร์ โดยศูนย์กลางแผ่นดินไหวห่างจากกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของประเทศไปราว 25 กิโลเมตร (หรือ 16 ไมล์) โดยแผ่นดินไหวเกิดขึ้นเมื่อเวลา 16:53:09 ตามเวลาท้องถิ่น [1] ของวันอังคารที่ 12 มกราคม พ.ศ. 2553 หรือตรงกับเวลา 04.53 นาฬิกา ในเช้าวันพุธที่ 13 มกราคม ตามเวลาประเทศไทย[2] แผ่นดินไหวเกิดขึ้นที่ความลึก 13 กิโลเมตร (8.1 ไมล์)[3] องค์กรสำรวจธรณีวิทยาของสหรัฐอเมริกา (The United States Geological Survey) ได้ตรวจสอบบันทึกและพบอาฟเตอร์ช็อกตามมาอีก 14 ครั้ง ซึ่งมีความแรงอยู่ที่ประมาณ 5 - 8 ริกเตอร์ หน่วยงานกาชาดสากลได้กล่าวว่ามีคนกว่า 3 ล้านคนที่ได้รับผลกระทบจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ และมีคนเสียชีวิตกว่า 500,000 คน ในกรุงปอร์โตแปรงซ์ เมืองหลวงของเฮติ เป็นพื้นที่ที่ได้รับความเสียหายมากที่สุด ซึ่งมีสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ถล่มเป็นซากปรักหักพังนับไม่ถ้วน ซึ่งรวมถึงทำเนียบประธานาธิบดีที่พังถล่มลงมาด้วย





ความเสียหาย



แรงสั่นสะเทือนจากแผ่นดินไหวครั้งนี้ก่อให้เกิดความเสียหายอย่างรุนแรง เช่น อาคารบ้านเรือนพังพินาศจำนวนมาก[4] รวมทั้งทำเนียบประธานาธิบดี, อาคารรัฐสภา, กระทรวงการคลัง, กระทรวงแรงงาน, กระทรวงคมนาคม, กระทรวงวัฒนธรรม, สำนักงานใหญ่สหประชาชาติ, อาคารสถานทูต, โรงเรียน, โรงแรมและโรงพยาบาล ที่พังถล่มลงมาทับผู้คน รวมถึงระบบสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานที่เสียหายอย่างหนัก โดยนายปัน กีมุน เลขาธิการสหประชาชาติกล่าวว่า "แผ่นดินไหวที่เฮติถือเป็นหายนะครั้งรุนแรงที่สุดเท่าที่องค์กรนานาชาติเคยประสบมา


การช่วยเหลือ



ด้านความช่วยเหลือจากนานาชาติ หลายๆ ประเทศได้ให้การช่วยเหลือต่างๆ โดยแต่ละประเทศที่เข้าช่วยเหลือเฮติในครั้งนี้ ต่างก็เร่งระดมเงินและลำเลียงสิ่งของและอุปกรณ์ช่วยเหลือมาทางเครื่องบิน แต่ต้องประสบปัญหาการบินขึ้นลง เพราะสนามบินกรุงปอร์โตแปรงซ์ มีขนาดเล็ก อีกทั้งการลำเลียงของลงจากเครื่องเป็นไปอย่างล่าช้า เที่ยวบินช่วยเหลือหลายลำต้องบินวนนานกว่า 2 ชม.กว่าจึงจะลงจอดได้ ขณะเดียวกัน ถนนหนทางบางแห่งได้รับความเสียหายจากแผ่นดินไหว และมีซากปรักหักพังของอาคารบ้านเรือนหล่นมากีดขวางเส้นทาง[6]


ความช่วยเหลือจากนานาชาติ ในขณะนี้ มีทั้งความช่วยเหลือจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และส่วนบุคคล ดังนี้




สหรัฐอเมริกา - ประธานาธิบดี บารัค โอบามา แถลงมอบเงินช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวในเฮติเบื้องต้น 100 ล้านดอลลาร์ (ราว 3,300 ล้านบาท) พร้อมกันนี้ยังได้ขอให้อดีตประธานาธิบดีสหรัฐฯ 2 ท่าน คือ นายจอร์จ ดับเบิลยู. บุช และนายบิล คลินตัน ช่วยกันระดมเงินช่วยเหลืออีกแรง ส่วนความช่วยเหลือภาคสนาม สหรัฐฯ กำลังส่งทหาร 3,500 นาย เจ้าหน้าที่และแพทย์รวม 300 คน รวมทั้งเรืออีกหลายลำพร้อมทหารหน่วยนาวิกโยธิน 2,200 นาย เข้าปฏิบัติภารกิจกู้ภัยช่วยเหลือเหยื่อแผ่นดินไหวในเฮติ


เยอรมนี - ได้บริจาคเงินช่วยเหลือ เป็นจำนวน 1 ล้านยูโร


ชิลี - บริจาคเงิน 1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ


ธนาคารพัฒนาระหว่างอเมริกา (ไอเอดีบี) - ให้เงินช่วยเหลือฉุกเฉินจำนวน 200,000 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ส่วนธนาคารโลกเตรียมส่งเจ้าหน้าที่ เพื่อไปประเมินความเสียหายและช่วยฟื้นฟูเฮติ


ไทย - รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่เฮติ เป็นเงินจำนวน 2 หมื่นดอลลาร์และนอกจากนี้ยังส่งเงืนช่วยเหลือเพื่มเติมอีกราว 30 ล้านบาทรวมถึงข้าวสารอีก 2,000,000 ตัน โดยนายสุเทพ เทือกสุบรรณ รองนายกรัฐมนตรีฝ่ายความมั่นคง ให้สัมภาษณ์ถึงการที่รัฐบาลไทยให้ความช่วยเหลือแก่ประเทศเฮติที่ประสบภัยแผ่นดินไหวจำนวน 2 หมื่นดอลลาร์ น้อยเกินไปหรือไม่ว่าอาจจะมีการเพิ่มการช่วยเหลือด้านอื่น เช่น ส่งทหารช่างเข้าไปช่วยสนับสนุนฟื้นฟูหรือไม่ว่า "เข้าใจว่านั่นเป็นเงินช่วยเหลือก้อนแรกที่อยู่ในขอบเขตอำนาจที่จะทำได้ก่อน ที่เหลือนายกรัฐมนตรีคงจะได้ติดตามดูตามสถานการณ์ว่าควรจะช่วยเหลืออย่างไร ซึ่งก็มีข้อเสนอว่าอาจส่งทหารช่าง ทหารเสนารักษ์ที่มีความพร้อมอยู่แล้ว ซึ่งนายกฯคงมอบหมายให้กระทรวงการต่างประเทศประเมินสถานการณ์ดูว่ามีอะไรบ้าง ที่เราสมควรจะช่วยเหลือ แต่ปัญหาคือประเทศนี้อยู่ไกลจากเรามาก ไม่เหมือนกรณีที่เกิดเหตุการณ์ขึ้นที่ประเทศอินโดนีเซีย หรือฟิลิปปินส์ ซึ่งเป็นเพื่อนบ้าน เมื่อเกิดเหตุเราขนข้าวของไปได้ กรณีที่เฮติคงเป็นการช่วยเหลือเรื่องเงินทองหรือบุคลากร ซึ่งนายกฯคงจะเรียกผู้เกี่ยวข้องไปหารือต่อไป ซึ่งการช่วยเหลือก้อนแรกก็เพื่อช่วยเหลือด้านมนุษยธรรมต่อเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน"


รวมถึงรายได้ทั้งหมดที่ได้จากค่าตั๋วเข้าชมการแข่งขันฟุตบอลคิงส์คัพ 2010


ส่วนสหประชาชาติแถลงที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ว่า ยอดผู้เสียชีวิตที่เป็นเจ้าหน้าที่ของยูเอ็นมีแล้วอย่างน้อย 36 คน และยังสูญหายอีกจำนวนมาก พร้อมเรียกร้องให้ประชาคมโลกร่วมลงขันช่วยเหลือผู้ประสบภัย ในเฮติแล้วราว 268.5 ล้านดอลลาร์ (ราว 8,860.5 ล้านบาท)


นอกจากนี้ ยังมีเหล่าดาราคนดังทั้งวงการหนังและวงการเพลงต่างพร้อมใจออกมาช่วยระดมเงิน บริจาคกันอย่างอุ่นหนาฝาคั่ง อาทิ คู่สามี-ภรรยาคนดัง แบรด พิตต์ และแองเจลีนา โจลี บริจาคเงินช่วยเหลือ 1 ล้านดอลลาร์ผ่านองค์กร "แพทย์ไร้พรมแดน" จอร์จ คลูนีย์ เตรียมจัดรายการพิเศษออกอากาศทางเครือข่ายของเอ็มทีวีในวันที่ 22 ม.ค.นี้ ระดมหาเงินช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ เช่นเดียวกับนักแสดงสาวอลิสซา มิลาโน ทูตสันถวไมตรีขององค์การยูนิเซฟ ไวเคลฟ ฌ็อง นักร้องดังแนวฮิพฮอพที่เกิดในเฮติ นักร้องสาวชากีรา คริส มาร์ติน จากวงโคลด์เพลย์ แห่งอังกฤษ โอปราห์ วินฟรีย์ เจ้าแม่รายการทอล์กโชว์ ดาวตลกเบน สติลเลอร์ และแลนซ์ อาร์มสตรอง นักปั่นน่องทอง ที่เตรียมช่วยระดมทุนหาเงินบริจาคช่วยเหลือชาวเฮติ ขณะที่นางมิเชล โอบามา สตรีหมายเลขหนึ่งของสหรัฐฯ เรียกร้องประชาชนร่วมบริจาคผ่านแคมเปญส่งข้อความสั้น (เอสเอ็มเอส) ซึ่งได้เงินมา 5.9 ล้านดอลลาร์ และมอบให้หน่วยงานกาชาดดำเนินการช่วยเหลือต่อไป


วันเดียวกัน สมาคมผู้สื่อข่าวบันเทิงต่างประเทศ (เอชเอฟพีเอ) ฝ่ายจัดงานมอบรางวัลลูกโลกทองคำ (โกลเดน โกลบส์) ซึ่งจัดขึ้นที่โรงแรมเบเวอร์ลี ฮิลตัน ย่านเบเวอร์ลี ฮิลส์ รัฐแคลิฟอร์เนียของสหรัฐฯ ในคืนวันที่ 17 ม.ค.นี้ ตามเวลาท้องถิ่น แถลงยังเดินหน้าจัดงานตามกำหนด โดยระหว่างงานจะมีการระดมเงินบริจาคให้ได้ 100,000 ดอลลาร์ เพื่อช่วยเหลือผู้ประสบภัยในเฮติ ผ่านกองทุนช่วยเหลือ "เยเล เฮติ" ของนักร้องฮิพฮอพ ไวเคลฟ ฌ็อง


วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

           โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)

         เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาสาสมัครที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชน และหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากได้พิจารณาว่า ภารกิจด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ได้พิจารณาจากกลุ่มอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนเป็นลำดับแรก ปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ ฯลฯ ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ล้วนปฏิบัติ งานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งสิ้น การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ได้เข้าใจ ตระหนึกถึงความสำคัญของการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นของตนเองและเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในหมู่บ้านและชุมชนของตน จะทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนา   สังคมไปสู่สังคมแห่งสันติสุข เอื้ออาทร น่าอยู่และยั่งยืน


รายละเอียด


          โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์



โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาสาสมัครที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชนและหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากได้พิจารณาว่า ภารกิจด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ได้พิจารณาจากกลุ่มอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนเป็นลำดับแรก ปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ ฯลฯ ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ล้วนปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งสิ้น การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ได้เข้าใจ ตระหนึกถึงความสำคัญของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นของตนเองและเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในหมู่บ้านและชุมชนของตน จะทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไปสู่สังคมแห่งสันติสุข เอื้ออาทร น่าอยู่และยั่งยืน


อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) คือ อาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในชุมชนอยู่แล้ว และสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อท้องถิ่นของตนเอง


        บทบาทหน้าที่ อพม.


1.นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในชุมชน และผู้ได้รับผลกระทบเพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังหรือป้องกันและแก้ไขปัญหา (ชี้เป้า เฝ้าระวัง)


2.ประสานการดำเนินงานกับเครือข่ายทุกระดับ ทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา การป้องกันแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูผู้ประสบภัยธรรมชาติ (เชื่อมกลุ่มเดิม-สร้างเสริมกลุ่มใหม่)


3.ผลักดันหรือกระตุ้นให้ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชน (ร่วมใจทำแผนชุมชน)


อาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม


             อาสาสมัคร หมายถึง บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน งานอาสาสมัครถือเป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคม และบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครถือเป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ สังคมไทยยุคปัจจุบันมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและปัญหาสังคมก็เพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาสังคมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใกล้ชิดปัญหาและมีการดำเนินการที่ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ประกอบกับปปัจจุบันกำลังคนภาครัฐลดลง การมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาบ้านเมือง จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ


กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีนโยบายในการสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกลสำคัญ สำรวจ เฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์ทางสังคมตลอดจนข้อมูลผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนและดำเนินการป้องกัน แก้ไขโดยประสานกับองค์กรชุมชนหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินยการต่อไป ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสังคมส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่าย อาสาสมัครและการจัดสวัสดิการชุมชนและการจัดทำแผนงานโครงการด้านสังคมในชุมชน บำเพ็ญประโยชน์อื่นๆเพื่อสังคม


          นโยบายการพัฒนางานอาสาสมัคร


งานอาสาสมัครเป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคม และบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครได้เสียสละเวลาอันมีค่า ตลอดจนความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนนั้นควรแก่การยกย่องสรรเสริญ โดยเฉพาะในสังคมไทยยุคใหม่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เป็นปัญหาทางสังคมการที่มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยรัฐบาลบรรเทาปัญหาของบ้านเมืองนั้น นับว่าเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งและสอดคล้องกับทุกภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม


ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานอาสาสมัคร รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการพัฒนางานอาสาสมัครดังนี้


๑. ส่งเสริมสนับสนุนอาสาสมัครอย่างจริงจัง โดยการพัฒนาอาสาสมัครให้มีความรู้ ความสามารถ อุดมการณ์และคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลังสำคัญในการสงเคราะห์ผู้มีปัญหา การป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม พัฒนาองค์การ และการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ


๒. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการงานอาสาสมัคร เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอาสาสมัคร ได้บริหารจัดการงานอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล


๓. จัดตั้งองค์การอาสาสมัครระดับชาติ โดยให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานอาสาสมัครแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชน และอาสาสมัคร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงาน ติดตาม และประเมินผล การปฏิบัติงานของอาสาสมัคร


๔. ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์ฝึกอบรมอาสาสมัคร ทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด เพื่อจัดให้มีการฝึกอบรมอาสาสมัครประเภทต่างๆให้อาสาสมัครเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ อุดมการณ์ คุณธรรมและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน


๕. จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานของอาสาสมัคร รวมทั้งจัดทำทะเบียนอาสาสมัครและให้อาสาสมัครได้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ตรงกับความสนใจ


๖. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครประเภทต่างๆเพื่อช่วยให้อาสาสมัครได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานและมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสังคมและประเทศชาติ


๗. ประชาสัมพันธ์งานอาสาสมัครให้เป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จัก ยอมรับของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป


๘. จัดให้มีสวัสดิการ ส่งเสริมขวัญกำลังใจและให้การยกย่องอาสาสมัคร รวมทั้งหน่วยงาน องค์การที่มีอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง เสียสละ มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ได้ปฏิบัติงานอาสาสมัครโดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ จะต้องไม่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่องานราชการ


๙. ให้การสนับสนุนการจัดงานวันอาสาสมัครไทย ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุน บทบาทและความสำคัญของอาสาสมัครและงานอาสาสมัคร


๑๐. ปลูกจิตสำนึกและจิตวิญญาณของอาสาสมัคร ในบุคคลกลุ่มต่างๆทั้งเด็กเยาวชน ประชาชน ตลอดจนนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชนในการทำงานเพื่อสังคม


๑๑. ให้มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับสถานภาพของอาสาสมัคร ให้การคุ้มครองและเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ


๑๒. จัดตั้งสภาอาสวาสมัครแห่งชาติเป็นองค์การอิสระ โดยหน่วยงานและองค์การทีมีอาสาสมัครเป็นสมาชิก เป็นผู้บริหารงานโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ

การช่วยเหลือประชาชนประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน ของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ

           การช่วยเหลือประชาชนประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

          กลุ่มเป้าหมาย



         ประชาชนผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นตามมา เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้


          แนวทางการช่วยเหลือ


ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว


กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด


         เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------


         การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน   กลุ่มเป้าหมาย


      เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี (ถ้าอยู่ระหว่างศึกษาอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์) ประสบปัญหาความเดือดร้อน ได้แก่  เด็กซึ่งพ่อแม่หรือเฉพาะพ่อหรือแม่ หรือผู้ปกครองประสบภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ เช่น เจ็บป่วย พิการ ต้องโทษ ฯลฯ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งมีผู้ปกครองดูแล เด็กในครอบครัวยากจนขาดแคลนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้


        แนวทางการช่วยเหลือ


การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เป็นการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยมุ่งให้ครอบครัวของเด็กสามารถเลี้ยงเด็กไว้ได้เอง ตามควรแก่อัตภาพ ไม่ต้องแยกเด็กออกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น โดยจะให้การช่วยเหลือ ดังนี้


        ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ


1,000 บาท/ครั้ง ในครอบครัวที่มีเด็ก 1 คน


ไม่เกิน 3,000 บาท/ครั้ง ในกรณีครอบครัวที่มีเด็กมากกว่า 1 คน


ช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของ


ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ในครอบครัวที่มีเด็ก 1 คน


ไม่เกิน 3,000บาท/ครั้ง ในกรณีครอบครัวที่มีเด็กมากกว่า 1 คน


        เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง


สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง


สูติบัตร/บัตรประจำตัวประชาชนของเด็ก


สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก

----------------------------------------------------------------------------------------------


          การสงเคราะห์รถโยก/รถเข็นนั่งคนพิการ  กลุ่มเป้าหมาย


 คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มีความพิการท่อนล่าง ซึ่งแพทย์มีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้


รถโยกหรือรถเข็นนั่ง (WHEEL CHAIR) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว


         แนวทางการช่วยเหลือ


ให้การช่วยเหลือรถสามล้อชนิดมือโยก เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหวของคนพิการในการใช้ชีวิตประจำวัน และเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งผู้พิการต้องมีความสามารถในการใช้รถโยกได้ โดยแขนทั้งสองข้างแข็งแรง


ให้การช่วยเหลือรถเข็นนั่ง เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านการเคลื่อนย้ายตัวเองไปในที่ต่าง ๆ ของคนพิการ


         เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่า


คนพิการมีแขน 2 ข้างที่มีกำลังพอโยกรถได้ และมีความจำเป็นต้องใช้รถโยกเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว


คนพิการมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นนั่ง


สำเนาทะเบียนบ้าน


รูปถ่ายเต็มตัว 1 รูป

-----------------------------------------------------------------------------


           การสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ  กลุ่มเป้าหมาย


เด็กพิการและคนพิการที่จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากอยู่ตามลำพัง


ไม่มีผู้อุปการะ ครอบครัวขัดสนขาดแคลน หรือ ครอบครัวประสบปัญหาความเดือดร้อน เช่น หัวหน้าครอบครัวเจ็บป่วย พิการ ตกงาน ทำให้มีผลกระทบต่อการเลี้ยง  ดูคนพิการ


        แนวทางการช่วยเหลือ


กรณีเด็กพิการ ช่วยเหลือเป็นเงินตามความจำเป็นและความเหมาะสม ไม่เกิน 1,000 บาท/ ครั้ง และช่วยเหลือติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง / ครอบครัว


กรณีคนพิการ ช่วยเหลือเป็นเงินตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่เกิน 2,000 บาท/ ครั้ง และช่วยเหลือติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง / ครอบครัว


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


กรณีผู้ปกครองยื่นเรื่องแทนคนพิการ


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง


กรณีคนพิการยื่นเรื่องขอรับบริการด้วยตนเอง


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


สำเนาทะเบียนบ้าน


------------------------------------------------------------------------------------------------              การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว


“ผู้ป่วยเอดส์” หมายความว่า ผู้ป่วยที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว และมีสภาพความเป็นอยู่ยากจน หรือถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถ


ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยอยู่ปัจจุบันในท้องที่จังหวัด “ผู้อุปการะ” หมายความว่า บรรดาผู้ดูแล ผู้ป่วยเอดส์ เช่น บิดา


มารดา บุตร สามีภริยา ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นในบ้านที่ผู้ป่วยเอดส์อาศัยอยู่ หรือผู้ที่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเอดส์ แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความรวมถึงสถาน


             สงเคราะห์หรือองค์กรที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน


1. การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว แนวทางการช่วยเหลือ
เป็นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยให้การช่วยเหลือเป็นเงินค่าอุปโภค – บริโภค


ค่ารักษาพยาบาล หรือเงินทุนประกอบอาชีพ ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท/ครอบครัว และช่วยเหลือติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง/ครอบครัว


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ


ใบรับรองแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ




---------------------------------------------------------------------------------------



             การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ แนวทางการช่วยเหลือ


เป็นการช่วยเหลือเด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ครอบครัวละไม่เกิน 1,000 บาทต่อเด็กหนึ่งคน และไม่เกิน 3,000 บาท ในกรณีที่มีเด็ก มากกว่าหนึ่งคน


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอและเด็ก จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดา จำนวน 1 ฉบับ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


                การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี


             ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการ


สงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี กำหนดว่า การสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ หมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี รายละ 2,000 บาท


        ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้


อายุ 60 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป


มีสัญชาติไทย


มีฐานะยากจน


ไม่มีญาติ หรือมีแต่ไม่สามารถจัดการศพตามประเพณี


         เอกสารในการยื่นขอรับการสงเคราะห์


ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ


บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ


ทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ และผู้ยื่นคำขอ


หนังสือรับรองว่าเป็นผู้สูงอายุฐานะยากจนจากพนักงานฝ่ายปกครอง หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือประชาชนตามที่ทางราชการประกาศกำหนด แล้วแต่กรณี


พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง


ผู้ยื่นคำขอและผู้รับรองต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน


ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ ต้องนำ ต้นฉบับเอกสาร พร้อมสำเนาเอกสารที่รับรองสำเนาทุกฉบับดังกล่าว จำนวน 2 ชุด ประกอบการ




            ยื่นคำขอ


การยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ให้ยื่นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกใบมรณบัตร

------------------------------------------------------------------------------------------------


             การให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุใช้ชีวิตในชุมชนขึ้นไป


เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อนเรื่องอาหารและ/หรือเครื่องนุ่งห่ม โดยไม่เกินวงเงินครั้งละสองพันบาท และจะช่วยได้ไม่เกิน สามครั้งต่อคนต่อปี โดยถือตามปีงบประมาณ


         คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ


เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัญชาติไทย


ประสบปัญหาความเดือดร้อนและมีความจำเป็นในเรื่องดังต่อไปนี้


อาหาร


เครื่องนุ่งห่ม


เอกสารในการยื่นขอรับการช่วยเหลือ


กรณีผู้สูงอายุเป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง


บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา


ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา


             กรณีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุ


บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้ยื่นคำขอ


บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้สูงอายุ


เมื่อได้รับคำขอ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการสอบข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือต่อไป

วันพฤหัสบดีที่ 28 มกราคม พ.ศ. 2553

การจดทะเบียนคนพิการ

            การจดทะเบียนคนพิการ



          การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการนั้น ถือเป็นแนวทางสำคัญในการพัฒนาคนพิการอย่างยั่งยืน อันจะทำให้คนพิการอยู่ในสังคมได้อย่างมีศักดิ์ศรีเท่าเทียมกับคนทั่วไป ดังนั้น รัฐบาลไทยจึงได้ประกาศใช้พระราชบัญญัติ การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ.2534 ขึ้น เพื่อส่งเสริมให้คนพิการได้รับสิทธิและโอกาสในการฟื้นฟูสมรรถภาพทางด้านการแพทย์ ศึกษา อาชีพ และสังคม โดยคนพิการที่รับสิทธิและโอกาสดังกล่าว ให้ยื่นจดทะเบียนคนพิการ

            สถานที่จดทะเบียน

1. คนพิการที่มีภูมิลำเนาอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร จดทะเบียนได้ที่ศูนย์บริการเบ็ดเสร็จ ณ จุดเดียว สำหรับคนพิการ (One – stop services center) อาคาร 1 ชั้น 1 กรมพัฒนาสังคมและสวัสดิการ ถนนกรุงเกษมสะพานขาว เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โทร. 0-2659-6170-1

2. คนพิการที่มีภูมิลำเนาในต่างจังหวัด จดทะเบียนได้ที่จังหวัดที่ตนมีภูมิลำเนาอยู่ที่สำนักงานพัฒนาสังคมและสวัสดิการจังหวัด ตั้งอยู่ที่ศาลากลางจังหวัดทุกจังหวัด

3. คนพิการที่ไม่ได้อยู่ในภูมิลำเนาของตน เช่น ไปประกอบอาชีพอยู่ในจังหวัดอื่น หรือในกรุงเทพมหานคร สามารถจดทะเบียนได้ ณ จังหวัดที่ตนอาศัยอยู่

       เอกสารที่ใช้ในการจดทะเบียน
 1. เอกสารรับรองความพิการ ซึ่งประเมินความพิการโดยแพทย์ของสถานพยาบาลของทางราชการ

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ ในกรณีเป็นผู้เยาว์ใช้สูติบัตร พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง

3. สำเนาทะเบียนบ้าน พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง

4. รูปถ่ายขนาด 1 นิ้ว จำนวน 2 รูป

        การจดทะเบียนแทน

หากคนพิการไม่สามรถไปจดทะเบียนได้ด้วยตนเอง เนื่องจากมีสภาพความพิการมาก มีความยากลำบากในการเดินทาง เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความสามารถ ให้มีผู้อื่นมาจดทะเบียนแทนได้ ทั้งนี้ผู้จดทะเบียนแทนต้องนำเอกสารมาด้วย ดังนี้

1. เอกสารหลักฐานของคนพิการ

2. สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน หรือบัตรประจำตัวข้าราชการ หรือบัตรประจำตัวต่างด้าว หรือเอกสารอื่นที่ทางราชการออกให้ของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมทั้งต้นฉบับตัวจริง

3. สำเนาทะเบียนบ้านของผู้จดทะเบียนแทน พร้อมต้นฉบับตัวจริง

4. ใบมอบอำนาจจากคนพิการหรือหนังสือรับรองจากทางราชการ

5. คำสั่งศาลในกรณีที่ศาลสั่งให้เป็นคนเสมือนไร้ความสามารถหรือไร้ความสามารถ หรือการจัดตั้งผู้ปกครองกรณีผู้เยาว์ไม่มีบิดา-มารดา หรือบิดา-มารดาถูกถอนอำนาจปกครอง

          สมุดประจำตัวคนพิการ

          คนพิการจะได้รับสมุดประจำตัวคนพิการเมื่อจดทะเบียนแล้ว เพื่อนำไปแสดงในการขอรับบริการ สงเคราะห์ หรือการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการด้านต่าง ๆ สมุดประจำตัวคนพิการนี้จะมีอายุ 5 ปีนับจากวันออกสมุด เมื่อครบกำหนดแล้วจะต้องนำมาขอต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการตามสถานที่จดทะเบียน พร้อมกับเอกสารที่ใช้ในการต่ออายุสมุด หากสมุดประจำตัวคนพิการสูญหาย ให้แจ้งความที่สถานีตำรวจ และนำใบแจ้งความมายื่นขอจดทะเบียนใหม่

          การต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ

         เพื่อให้คนพิการได้รับสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง ดังนั้นเมื่อสมุดประจำตัวคนพิการหมดอายุ คนพิการจะต้องดำเนินการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการด้วย ซึ่งหลักฐานในการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ ให้คนพิการนำสมุดประจำตัวคนพิการเล่มเดิมที่หมดอายุพร้อมสำเนาทะเบียนบ้าน มาขอรับบริการต่ออายุสมุด โดยเจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนฯ จะตรวจสอบหลักฐานจากทะเบียนคนพิการของจังหวัด แล้วจึงดำเนินการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการในสมุดเล่มเดิมให้แก่คนพิการ โดยไม่ต้องใช้เอกสารรับรอง ความพิการฉบับใหม่ ยกเว้นแต่ลักษณะของความพิการที่ระบุไว้ในเล่มเดิมไม่ชัดเจน หรือสภาพความพิการเปลี่ยนแปลงไป เจ้าหน้าที่ผู้จดทะเบียนฯ จะให้คนพิการไปขอรับเอกสารรับรองความพิการฉบับใหม่ เพื่อใช้ประกอบการต่ออายุสมุดประจำตัวคนพิการ สมุดประจำตัวคนพิการจะมีอายุ 5 ปี นับจากวันออกสมุด

         บริการที่จะได้รับตามพระราชบัญญัติฯ
 บริการทางการแพทย์ คือ การรักษาพยาบาล เพื่อแก้ไขความพิการหรือเพื่อปรับสภาพความพิการ กายอุปกรณ์และเครื่องช่วยความพิการต่าง ๆ คำแนะนำปรึกษาทางการแพทย์โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย ติดต่อขอรับบริการได้ที่สถานพยาบาลของรัฐทั่วประเทศ

บริการทางการศึกษา คือ การเข้าเรียนในสถานศึกษาต่าง ๆ อุปกรณ์และค่าใช้จ่ายในการเรียน คำแนะนำปรึกษาเกี่ยวกับการศึกษา ติดต่อขอรับบริการได้ที่กองการศึกษาเพื่อคนพิการ กรมสามัญศึกษา หรือสำนักงานสามัญศึกษาจังหวัดทุกจังหวัด

บริการทางอาชีพ คือ แนะนำการประกอบอาชีพ การจัดฝึกอาชีพ ให้กู้ยืมเงินทุนประกอบอาชีพ ตลอดจนบริการจัดหางานในสถานประกอบการที่เข้าข่ายต้องปฏิบัติตามกฎกระทรวง เรื่องการจ้างงานคนพิการที่ออกตามความใน พ.ร.บ. การฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534

บริการทางสังคม คือ ให้คำปรึกษาแนะนำ บริการช่วยเหลือเด็กพิการ และครอบครัวคนพิการที่มีฐานะยากจนและประสบปัญหาทางเศรษฐกิจ รวมถึงเบี้ยยังชีพคนพิการ ให้กับคนพิการที่มีสภาพความพิการมากจนไม่สามารถประกอบอาชีพได้ และมีฐานะยากจน ซึ่งบริการทางอาชีพและสังคม ติดต่อขอรับบริการได้ที่หน่วยงานที่ให้บริการแก่คนพิการในสังกัดกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.)

โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) ฉบับ กรณ์ จาติกวณิช แบบหมดเปลือก







             เปิดรายละเอียด"โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ" ฉบับชงเข้าครม. ดึงแรงงานนอกระบบ 26 ล้านคนเข้าสู่ระบบการออมอย่างยั่งยืน



            รายละเอียด โครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) ฉบับ "กรณ์ จาติกวณิช" ฉบับชงเข้าที่ประชุมคณะรัฐมนตรี แก้ปัญหาเงินออมในวันที่สังคมไทยก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ดึงแรงงานนอกระบบ 26 ล้านคนเข้าสู่ระบบเงินออมอย่างยั่งยืน เผยสมาชิกได้รับรายได้หลังเกษียณไปตลอดอายุขัย อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน หากออมตั้งแต่อายุ 20 ปี และออมจนครบอายุ 60 ปี จะได้รับบำนาญเดือนละ 1,710 บาท รวมเบี้ยยังชีพ เป็น 2,210 บาท รัฐจะมีภาระสมทบปีแรก จำนวน 22,955 ล้านบาท

1. ความเป็นมา


          กระทรวงการคลังได้ดำเนินการศึกษาวิเคราะห์การสร้างระบบการออมระยะยาวมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อเป็นเครื่องมือระดมเงินออมระยะยาวในประเทศ และเป็นเครื่องมือการออมเพื่อการชราภาพของแรงงานอีกด้วย โดยได้นำเสนอผลการศึกษาต่อสาธารณชนหลายครั้งในการสร้างความรู้ความเข้าใจเรื่องการออมระยะยาว และรณรงค์ให้เกิดความตระหนักในความสำคัญของการออม โดยได้เคยนำเสนอโครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพสำหรับแรงงานในระบบ ซึ่งขณะนี้ ได้ยกร่างกฎหมายในส่วนนี้เรียบร้อยแล้ว และจะนำเสนอคณะรัฐมนตรีต่อไป


          สำหรับการออมของแรงงานนอกระบบ กระทรวงการคลังได้ศึกษาวางแนวทางระบบการออมเพื่อการชราภาพให้กับแรงงานนอกระบบมาเป็นระยะ ๆ โดยได้ศึกษาโครงการระบบการออมเพื่อการชราภาพ (บำเหน็จบำนาญ) สำหรับแรงงานนอกระบบ โดยการพัฒนาการออมชุมชนให้สามารถดำเนินการเรื่องกองทุนบำเหน็จบำนาญได้ ต่อมาคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ (จัดตั้งตามพระราชบัญญัติผู้สูงอายุ พ.ศ. 2546) ซึ่งมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ ได้แต่งตั้งคณะอนุกรรมการผลักดันระบบการออมเพื่อวัยสูงอายุแห่งชาติ โดยมีปลัดกระทรวงการคลังเป็นประธานอนุกรรมการ (มอบนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง เป็นประธานอนุกรรมการ) เพื่อผลักดันให้เกิดการออมเพื่อวัยสูงอายุแห่งชาติขึ้น ซึ่งได้จัดให้มีการนำเสนอผลการศึกษาในเรื่องดังกล่าวจากหลายหน่วยงาน รวมทั้ง กระทรวงการคลังได้เสนอโครงการกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ (กอช.) (เดิมใช้ชื่อกองทุนบำเหน็จบำนาญแห่งชาติ (กบช.))


            ซึ่งได้นำเสนอผลการศึกษาโครงการ กอช. ต่อคณะอนุกรรมการผลักดันระบบการออมเพื่อวัยสูงอายุแห่งชาติ มาแล้วจำนวน 4 ครั้ง (ครั้งสุดท้ายเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2552) ได้ข้อสรุปของคณะอนุกรรมการฯ ดังมีสาระสำคัญ ต่อไปนี้
 
2. สาระสำคัญ



2.1 เหตุผลและความจำเป็นในการจัดตั้ง


2.1.1 ความครอบคลุมในระบบการออมเพื่อการชราภาพยังไม่ทั่วถึง

        จากข้อมูลปี 2551 พบว่ามีจำนวนผู้มีงานทำทั่วประเทศ 37.55 ล้านคน แบ่งเป็นแรงงานในระบบ จำนวน 14 ล้านคน (ร้อยละ 37 ของผู้มีงานทำ) และแรงงานนอกระบบ จำนวน 23.55 ล้านคน (ร้อยละ 63 ของผู้มีงานทำ) โดยแรงงานที่ได้รับความคุ้มครองเป็นแรงงานในระบบ จำนวน 11.3 ล้านคน (ร้อยละ 30 ของผู้มีงานทำ ) ดังนั้น แรงงานที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองเป็นแรงงานนอกระบบทั้งจำนวนและแรงงานในระบบที่เหลือจำนวน 2.7 ล้านคน ดังนั้น รวมผู้ที่ไม่ได้รับความคุ้มครองจำนวน 26.25 ล้านคน หรือร้อยละ 70 ของผู้มีงานทำ

1.1.1 การเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ

ประเทศไทยกำลังประสบกับปัญหาการเปลี่ยนแปลงโครงสร้างประชากรเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุอย่างรวดเร็ว พบว่าภายใน 20 ปี (ปี 2551 - 2571) สัดส่วนประชากรวัยสูงอายุต่อประชากรรวมเพิ่มขึ้นเป็น 2 เท่า จากร้อยละ 10.12 เป็นร้อยละ 20.22 และอัตราการพึ่งพิงของผู้สูงอายุต่อประชากรวัยทำงาน (Elderly Dependency Ratio) เพิ่มสูงขึ้นถึง 2 เท่า จากร้อยละ 15.16 เป็น 31.88 เกิดความเสี่ยงของภาครัฐที่จะต้องจัดสรรงบประมาณจำนวนมากมาเลี้ยงดูคนชรา ในขณะที่ความเสี่ยงจากรายได้ภาษีคนวัยทำงานจะลดลงตามจำนวนคนวัยทำงานที่มีทิศทางลดลงด้วย

1.1.2 ขาดช่องทางการออมที่เป็นระบบในการส่งเสริมวินัยการออมและเพิ่มเงินออมภาคครัวเรือน

ปัจจุบันเครื่องมือการออมระยะยาวที่ประชาชนสามารถเข้าถึงและสอดคล้องกับความสามารถในการออมของประชาชนโดยเฉพาะแรงงานนอกระบบยังมีอยู่น้อยมาก ซึ่งหากประชาชนได้มีช่องทางหรือเครื่องมือการออมที่เป็นระบบ และเข้าถึงได้ง่ายแล้ว ก็จะสามารถระดมเงินออมภาคครัวเรือนได้อย่างเต็มศักยภาพ โดยเงินออมภาคครัวเรือนมีความสำคัญในการเป็นแหล่งเงินทุนที่มั่นคง กระตุ้นการเติบโตทางเศรษฐกิจได้อย่างยั่งยืน รวมทั้งเป็นการส่งเสริมประชาชนให้มีวินัยในการออม ดูแลตนเองได้ในวัยชรา ลดภาระของลูกหลานและรัฐบาลได้อีกด้วย

1.2 วัตถุประสงค์


1.2.1 เพื่อให้มีระบบการออมเพื่อการชราภาพมีความครอบคลุมทั่วถึงแรงงานทุกคน สร้างความเท่าเทียม และเป็นธรรมในการดูแลจากภาครัฐ


1.2.2 เพื่อให้แรงงานมีระดับรายได้หลังเกษียณอย่างน้อยขั้นพื้นฐาน เพื่อสร้างความมั่นคงในชีวิตวัยชรา


1.2.3 เพื่อให้มีกองทุนที่มีการบริหารและสามารถลดภาระรัฐบาลได้ในระยะยาวอย่างมีประสิทธิภาพ

1.3 โครงสร้าง กอช.





1.3.1 รูปแบบ เป็นกองทุนการออมเพื่อการชราภาพขั้นพื้นฐานที่วัยแรงงาน ได้รับสิทธิตามกฎหมาย กำหนดการจ่ายเงินเข้ากองทุน (Defined contribution) สมาชิกมีบัญชีรายบุคคล และเปิดให้มีการออมภาคสมัครใจด้วย


1.3.2 ความครอบคลุม ผู้ที่ยังไม่ได้รับความคุ้มครองและหลักประกันทางสังคมตามกฎหมายอื่น ๆ (แรงงานนอกระบบ) ที่มีอายุตั้งแต่ 20 - 60 ปี ได้รับสิทธิตามกฎหมายในการเป็นสมาชิกกองทุน ส่วนผู้ที่อายุต่ำกว่า 20 ปี สามารถเข้ากองทุนได้ตามความสมัครใจ (สะสมฝ่ายเดียว)


1.3.3 ผู้ที่ได้รับการยกเว้น วัยแรงงานที่ทุพพลภาพ ไร้สมรรถภาพ หรือเป็นผู้สูญเสียความสามารถในการทำงานอย่างถาวร


2.1.2 การจ่ายเงินเข้ากองทุน


1) ผู้ออม สามารถเลือกจ่ายเงินสะสมเข้ากองทุนเป็นรายเดือน หรือรายงวด (3 เดือน 6 เดือน หรือ 1 ปี) ก็ได้ โดยรายเดือน สะสมตามสิทธิเดือนละ 100 บาท สำหรับรายงวด จ่ายตามจำนวนเดือน เช่น ราย 6 เดือน แรงงานจะต้องจ่าย 600 บาท เป็นต้น และสะสมตามความสมัครใจได้เดือนละ 100 - 1,000 บาท

2) รัฐบาล จ่ายสมทบให้ตามสิทธิ เป็นลำดับขั้นตามช่วงอายุของผู้ออม คือ


(1) อายุ 20 - 30 ปี สมทบเดือนละ 50 บาท


(2) อายุ 30 ปี 1 เดือน - 50 ปี สมทบเดือนละ 80 บาท


(3) อายุ 50 ปี 1 เดือน - 60 ปี สมทบเดือนละ 100 บาท


ทั้งนี้ กรณีรายงวด รัฐสมทบให้ตามจำนวนเดือนเช่นเดียวกัน

สำหรับผู้ที่ได้รับการยกเว้น (ตามข้อ 2.3.3) ไม่ต้องจ่ายสะสม และรัฐสมทบให้ ร้อยละ 50 ของกรณีปกติ


3.3.5 การจ่ายผลประโยชน์ สมาชิกได้รับผลประโยชน์ตามบัญชีรายตัว โดยได้รับการรับประกันจากรัฐบาลในส่วนเงินต้น รวมดอกผลขั้นต่ำไม่น้อยกว่าอัตราดอกเบี้ยเงินฝากประจำระยะยาวประเภท 1 ปี (เฉลี่ยของธนาคารพาณิชย์ขนาดใหญ่ 4 แห่ง) โดยอัตราบำนาญได้จากบัญชีเงินสะสมคำนวณตามจำนวนปีที่สมาชิกประสงค์จะรับ รวมกับบัญชีเงินสมทบคำนวณแบบบำนาญตลอดอายุขัย ดังนั้น สมาชิกจะได้รับบำนาญไปตลอดอายุขัย และหากเสียชีวิตก่อนเวลาที่กำหนด ทายาทจะได้รับเงินคืนในส่วนของบัญชีเงินสมทบที่เหลือ โดยการรับผลประโยชน์จากกองทุนมีเงื่อนไข ดังตาราง

1.1.1 การกำหนดนโยบาย โดยคณะกรรมการนโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุแห่งชาติ ซึ่งจะได้มีการจัดตั้งเพื่อทำหน้าที่กำหนดนโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ในภาพรวมของระบบต่าง ๆ ได้แก่ เบี้ยยังชีพ กองทุนประกันสังคม กบข. กอช. กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ เพื่อให้เกิดความสอดคล้อง เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ไม่ซ้ำซ้อน รวมทั้งให้เกิดความเหมาะสมทั้งในเรื่องผลประโยชน์ ภาระแรงงาน ภาระนายจ้าง และภาระรัฐบาล โดยมีนายกรัฐมนตรีเป็นประธานกรรมการ และมีผู้แทนภาครัฐและเอกชนที่เกี่ยวข้องร่วมเป็นกรรมการ

ทั้งนี้ สำหรับเบี้ยยังชีพ ให้คณะกรรมการนโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุแห่งชาติ เป็นผู้กำกับดูแลนโยบายการจ่ายเบี้ยยังชีพ ตามที่ดำเนินงานอยู่ในปัจจุบัน ซึ่งดำเนินการภายใต้พระราชบัญญัติผู้สูงอายุแห่งชาติ พ.ศ. 2546 ตามระเบียบคณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ ว่าด้วยหลักเกณฑ์การจ่ายเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุ พ.ศ. 2552 โดยผ่านองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและเป็นการดำเนินการที่เหมาะสม

1.1.2 การกำกับดูแล กำกับดูแลโดยสำนักงานกองทุนการออมเพื่อการชราภาพ เป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่กำกับดูแล กอช. และกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ และมีหน้าที่ตรวจสอบให้การดำเนินการของกองทุนเป็นไปตามกฎหมาย และสอดคล้องภายใต้แนวนโยบายหลักของคณะกรรมการนโยบายการออมเพื่อการเกษียณอายุแห่งชาติ และทำหน้าที่ติดตามแรงงานให้เข้า กอช.
  
โครงสร้างการดำเนินงานด้านนโยบายและการกำกับดูแลกองทุนเพื่อการเกษียณอายุ



ปรากฏตามรูปภาพที่ 1







1.1.1 อายุรับผลประโยชน์ อายุที่สมาชิกมีสิทธิรับผลประโยชน์จากกองทุนเหตุ


สูงอายุ กำหนด 60 ปี ในระยะเริ่มต้นโครงการ และให้อำนาจคณะกรรมการฯ ประกาศเพิ่มเติมในการปรับอายุที่มีสิทธิได้รับเงินจากกองทุนตามดัชนีชี้วัด เช่น อายุขัยเฉลี่ย หรือ ความสามารถในการทำงานของแรงงานได้ต่อไป

1.1.2 นโยบายการลงทุน กำหนดกรอบลงทุน โดยการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความมั่นคงสูงหรือมีอัตราความเสี่ยงต่ำ ไม่น้อยกว่าร้อยละ 60 ของเงินกองทุน และการลงทุนในหลักทรัพย์ที่มีความเสี่ยง ไม่เกินกว่าร้อยละ 40 ของเงินกองทุน


1.1.3 การจัดเก็บเงินและข้อมูล การจัดเก็บเงินและข้อมูล และการทำฐานข้อมูลทะเบียนกลางของ กอช. จะเป็นแบบรวมศูนย์ (Centralized Collection and Registrar) ดำเนินการโดยสำนักงาน กอช. (หรือสำนักงาน กอช. อาจมอบหมายให้หน่วยงานภายนอกรับไปดำเนินการ)

1.1.4 การบริหารจัดการเงินกองทุน การบริหารเงินกองทุน กอช. ดำเนินการแบบรวมศูนย์โดยสำนักงาน กอช. และจัดจ้างบริษัทจัดการลงทุน (บลจ.) บางรายมาบริหารเงินกองทุน โดยสำนักงาน กอช. จะกำหนดเกณฑ์ในการคัดเลือก บลจ. ที่ได้รับใบอนุญาตประกอบธุรกิจจัดการกองทุนส่วนบุคคลจากสำนักงานคณะกรรมการกำกับหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (สำนักงาน ก.ล.ต.) มาร่วมบริหารเงินกองทุน


1.1.5 การเก็บรักษาทรัพย์สิน สำนักงาน กอช. จะคัดเลือกผู้รับฝากทรัพย์สิน (Custodian) ที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. เพื่อทำหน้าที่ดูแลและเก็บรักษาหลักทรัพย์และทรัพย์สินอื่น ๆ และตรวจเช็คทรัพย์สินสุทธิของสำนักงาน กอช. และ บลจ. รวมทั้งติดตามสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ ที่ได้จากการลงทุนของกองทุน
 1.1.6 การเชื่อมโยงกับองค์กรการเงินชุมชน ปัจจุบันมีการดำเนินการการออมขององค์กรการเงินชุมชน (ณ ธ.ค. 2551 มีองค์กรชุมชน 64,952 องค์กร มีสมาชิก 16,665,271 คน และมีเงินออม 15,798.87 ล้านบาท) ซึ่งส่วนใหญ่ดำเนินการด้านสวัสดิการต่างๆ มีเพียงส่วนน้อยที่ให้สวัสดิการกรณีชราภาพด้วย ดังนั้น สำนักงาน กอช. จะอนุญาตให้สามารถนำเงินกองทุนชุมชนมาบริหารจัดการภายใต้สำนักงาน กอช. ตามหลักเกณฑ์การลงทุนเดียวกัน และองค์กรชุมชนรับผิดชอบการนำเงินไปจัดสวัสดิการต่าง ๆ ตามข้อตกลงมีอยู่เดิม นอกจากนี้ สำหรับองค์กรชุมชนที่ตั้งใหม่หลังจากมี กอช. แล้ว ก็สามารถดำเนินการได้ในทำนองเดียวกัน

แผนภาพโครงสร้างระบบการดำเนินงาน กอช. ปรากฏตามรูปภาพที่ 2




2.1.3 สิทธิประโยชน์ทางภาษี สมาชิกจะได้รับสิทธิประโยชน์ทางภาษี ดังนี้


(1) เงินสะสม ยกเว้นภาษีเงินสะสมตามที่จ่ายจริง แต่ทั้งนี้ เงินสะสมที่ได้รับการยกเว้นภาษี จะต้องไม่เกินปีละ 13,200 บาท (ส่งเงินสะสมเดือนละไม่เกิน 1,100 บาท)


(2) เงินผลประโยชน์ ยกเว้นภาษี


(3) เงินที่ได้รับจากกองทุน ยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนของเงินบำนาญและเงินก้อนที่ได้รับในกรณีอายุครบ 60 ปีบริบูรณ์ กรณีเหตุทุพพลภาพ และกรณีเหตุเสียชีวิต

2.1.4 การดูแลผลประโยชน์ สำนักงาน กอช. จะคัดเลือกผู้ดูแลผลประโยชน์ (Trustee) จากผู้ดูแลผลประโยชน์ทั้งหมดที่ได้รับใบอนุญาตจากสำนักงาน ก.ล.ต. โดย Trustee มีหน้าที่ดูแลผลประโยชน์ ตรวจสอบผู้จัดการกองทุนให้ลงทุนตามวัตถุประสงค์ตามกฎหมายและเพื่อประโยชน์ของสมาชิกเป็นสำคัญ และรายงานสำนักงาน กอช. ทันทีที่พบความผิด

2.2 ผลที่คาดว่าจะได้รับ


2.2.1 สมาชิกได้รับรายได้หลังเกษียณไปตลอดอายุขัย อย่างน้อยในระดับพื้นฐาน โดยผู้ที่ออมตั้งแต่อายุ 20 ปี และออมจนครบอายุ 60 ปี โดยออมขั้นพื้นฐานตามสิทธิอย่างเดียว จะได้รับบำนาญเดือนละ 1,710 บาท (รวมเบี้ยยังชีพ เป็น 2,210 บาท)

1.1.1 เงินออมเพิ่มขึ้น เงินกองทุนเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง พบว่าปีแรกเงินออมขั้นพื้นฐาน มีจำนวน 56,316 ล้านบาท (กรณีมีผู้เข้าระบบร้อยละ 100 ของกลุ่มเป้าหมาย) จำนวน 45,053 ล้านบาท (กรณีมีผู้เข้าระบบร้อยละ 80 ของกลุ่มเป้าหมาย) และจำนวน 16,895 ล้านบาท (กรณีมีผู้เข้าระบบร้อยละ 30 ของกลุ่มเป้าหมาย)

1.1.2 ส่งเสริมการพัฒนาตลาดทุน เนื่องจากเงินออมในกองทุนจะส่งผลให้เงินลงทุนระยะยาวจากผู้ลงทุนประเภทสถาบันเพิ่มสูงขึ้น ซึ่งจะเพิ่มปริมาณการลงทุนจะส่งผลให้ตลาดทุนในภาพรวมมีความมั่นคงและมีเสถียรภาพมากขึ้น รวมทั้งการลดความผันผวนของการเคลื่อนย้ายเงินลงทุน นอกจากนี้ ยังมีผลต่อการพัฒนาตราสารรูปแบบใหม่ ๆ ในตลาดตามอุปสงค์ที่เพิ่มขึ้นด้วย

1.2 ภาระรัฐบาล


รัฐบาลจะมีภาระจ่ายเงินสมทบในกองทุนตามช่วงอายุต่าง ๆ ของผู้ออม ซึ่งหากมีผู้เข้าระบบ กอช. ครบร้อยละ 100 รัฐจะมีภาระสมทบปีแรก จำนวน 22,955 ล้านบาท (ร้อยละ 0.27 ต่อ GDP) หากประชาชนเข้าระบบ ร้อยละ 80 รัฐจะต้องสมทบจำนวน 18,364 ล้านบาท (ร้อยละ 0.22 ต่อ GDP) และหากประชาชนเข้าระบบร้อยละ 30 รัฐจะต้องสมทบ 6,887 ล้านบาท (ร้อยละ 0.08 ต่อ GDP)