วันเสาร์ที่ 30 มกราคม พ.ศ. 2553

การช่วยเหลือประชาชนประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน ของกระทรวงพัฒนาสังคมฯ

           การช่วยเหลือประชาชนประสบปัญหาทางสังคมกรณีฉุกเฉิน ของกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์

          กลุ่มเป้าหมาย



         ประชาชนผู้ที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน ที่เกิดขึ้นโดยปัจจุบันทันด่วน หรือที่คาดว่าจะเกิดขึ้นในเวลาอันใกล้ จะต้องได้รับการแก้ไขโดยฉับพลันทันท่วงที เพื่อป้องกันมิให้เกิดปัญหาสังคมด้านอื่นตามมา เป็นการช่วยเหลือเบื้องต้นก่อนให้การสงเคราะห์ พัฒนา และฟื้นฟูให้การช่วยเหลือตนเองได้


          แนวทางการช่วยเหลือ


ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ ไม่เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว


กรณีช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ เกิน 2,000 บาท ต่อครั้งต่อครอบครัว ให้อยู่ในดุลพินิจผู้ว่าราชการจังหวัด


         เอกสารที่ใช้ในการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน สำเนาทะเบียนบ้าน

--------------------------------------------------------------------------------------------------------


         การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน   กลุ่มเป้าหมาย


      เด็กตั้งแต่แรกเกิดจนถึงอายุ 18 ปี (ถ้าอยู่ระหว่างศึกษาอายุไม่เกิน 20 ปีบริบูรณ์) ประสบปัญหาความเดือดร้อน ได้แก่  เด็กซึ่งพ่อแม่หรือเฉพาะพ่อหรือแม่ หรือผู้ปกครองประสบภาวะอย่างใดอย่างหนึ่งทำให้ ไม่สามารถประกอบอาชีพเลี้ยงดูครอบครัวได้ เช่น เจ็บป่วย พิการ ต้องโทษ ฯลฯ เด็กกำพร้า เด็กถูกทอดทิ้ง ซึ่งมีผู้ปกครองดูแล เด็กในครอบครัวยากจนขาดแคลนไม่สามารถเลี้ยงดูเด็กได้


        แนวทางการช่วยเหลือ


การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวยากจน เป็นการช่วยเหลือเด็กและครอบครัวที่ประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยมุ่งให้ครอบครัวของเด็กสามารถเลี้ยงเด็กไว้ได้เอง ตามควรแก่อัตภาพ ไม่ต้องแยกเด็กออกจากครอบครัวโดยไม่จำเป็น โดยจะให้การช่วยเหลือ ดังนี้


        ช่วยเหลือเป็นเงินหรือสิ่งของ


1,000 บาท/ครั้ง ในครอบครัวที่มีเด็ก 1 คน


ไม่เกิน 3,000 บาท/ครั้ง ในกรณีครอบครัวที่มีเด็กมากกว่า 1 คน


ช่วยเหลือทั้งเงินและสิ่งของ


ไม่เกิน 2,000 บาท/ครั้ง ในครอบครัวที่มีเด็ก 1 คน


ไม่เกิน 3,000บาท/ครั้ง ในกรณีครอบครัวที่มีเด็กมากกว่า 1 คน


        เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง


สำเนาทะเบียนบ้านของบิดา หรือมารดา หรือผู้ปกครอง


สูติบัตร/บัตรประจำตัวประชาชนของเด็ก


สำเนาทะเบียนบ้านของเด็ก

----------------------------------------------------------------------------------------------


          การสงเคราะห์รถโยก/รถเข็นนั่งคนพิการ  กลุ่มเป้าหมาย


 คนพิการที่จดทะเบียนคนพิการตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 มีความพิการท่อนล่าง ซึ่งแพทย์มีความเห็นว่าจำเป็นต้องใช้


รถโยกหรือรถเข็นนั่ง (WHEEL CHAIR) เพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว


         แนวทางการช่วยเหลือ


ให้การช่วยเหลือรถสามล้อชนิดมือโยก เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านการเคลื่อนไหวของคนพิการในการใช้ชีวิตประจำวัน และเพื่อการประกอบอาชีพ ซึ่งผู้พิการต้องมีความสามารถในการใช้รถโยกได้ โดยแขนทั้งสองข้างแข็งแรง


ให้การช่วยเหลือรถเข็นนั่ง เพื่อช่วยเพิ่มความสามารถทางด้านการเคลื่อนย้ายตัวเองไปในที่ต่าง ๆ ของคนพิการ


         เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


ใบรับรองแพทย์ที่ระบุว่า


คนพิการมีแขน 2 ข้างที่มีกำลังพอโยกรถได้ และมีความจำเป็นต้องใช้รถโยกเพื่อช่วยในการเคลื่อนไหว


คนพิการมีความจำเป็นต้องใช้รถเข็นนั่ง


สำเนาทะเบียนบ้าน


รูปถ่ายเต็มตัว 1 รูป

-----------------------------------------------------------------------------


           การสงเคราะห์ครอบครัวคนพิการ  กลุ่มเป้าหมาย


เด็กพิการและคนพิการที่จดทะเบียน ตามพระราชบัญญัติการฟื้นฟูสมรรถภาพคนพิการ พ.ศ. 2534 ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อน เนื่องจากอยู่ตามลำพัง


ไม่มีผู้อุปการะ ครอบครัวขัดสนขาดแคลน หรือ ครอบครัวประสบปัญหาความเดือดร้อน เช่น หัวหน้าครอบครัวเจ็บป่วย พิการ ตกงาน ทำให้มีผลกระทบต่อการเลี้ยง  ดูคนพิการ


        แนวทางการช่วยเหลือ


กรณีเด็กพิการ ช่วยเหลือเป็นเงินตามความจำเป็นและความเหมาะสม ไม่เกิน 1,000 บาท/ ครั้ง และช่วยเหลือติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง / ครอบครัว


กรณีคนพิการ ช่วยเหลือเป็นเงินตามความจำเป็นและเหมาะสม ไม่เกิน 2,000 บาท/ ครั้ง และช่วยเหลือติดต่อกันไม่เกิน 3 ครั้ง / ครอบครัว


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


กรณีผู้ปกครองยื่นเรื่องแทนคนพิการ


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน และสำเนาทะเบียนบ้านของผู้ยื่นคำร้อง


กรณีคนพิการยื่นเรื่องขอรับบริการด้วยตนเอง


สำเนาสมุดประจำตัวคนพิการ


สำเนาทะเบียนบ้าน


------------------------------------------------------------------------------------------------              การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว


“ผู้ป่วยเอดส์” หมายความว่า ผู้ป่วยที่แพทย์ได้รับรองและทำการวินิจฉัยแล้ว และมีสภาพความเป็นอยู่ยากจน หรือถูกทอดทิ้ง ขาดผู้อุปการะดูแล ไม่สามารถ


ประกอบอาชีพเลี้ยงตนเองได้ และมีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านที่อยู่อาศัยอยู่ปัจจุบันในท้องที่จังหวัด “ผู้อุปการะ” หมายความว่า บรรดาผู้ดูแล ผู้ป่วยเอดส์ เช่น บิดา


มารดา บุตร สามีภริยา ญาติพี่น้องหรือบุคคลอื่นในบ้านที่ผู้ป่วยเอดส์อาศัยอยู่ หรือผู้ที่ได้รับความยินยอมจากผู้ป่วยเอดส์ แต่ทั้งนี้ มิได้หมายความรวมถึงสถาน


             สงเคราะห์หรือองค์กรที่ดำเนินการในลักษณะเดียวกัน


1. การสงเคราะห์ผู้ติดเชื้อเอดส์และครอบครัว แนวทางการช่วยเหลือ
เป็นการช่วยเหลือเพื่อบรรเทาความเดือดร้อนให้แก่ครอบครัวผู้ติดเชื้อเอดส์ ซึ่งประสบปัญหาความเดือดร้อน โดยให้การช่วยเหลือเป็นเงินค่าอุปโภค – บริโภค


ค่ารักษาพยาบาล หรือเงินทุนประกอบอาชีพ ครั้งละไม่เกิน 2,000 บาท/ครอบครัว และช่วยเหลือติดต่อกันได้ไม่เกิน 3 ครั้ง/ครอบครัว


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาทะเบียนบ้าน จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชน จำนวน 1 ฉบับ


ใบรับรองแพทย์ จำนวน 1 ฉบับ




---------------------------------------------------------------------------------------



             การสงเคราะห์เด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ แนวทางการช่วยเหลือ


เป็นการช่วยเหลือเด็กในครอบครัวที่ได้รับผลกระทบจากเอดส์ ครอบครัวละไม่เกิน 1,000 บาทต่อเด็กหนึ่งคน และไม่เกิน 3,000 บาท ในกรณีที่มีเด็ก มากกว่าหนึ่งคน


          เอกสารประกอบการขอรับบริการ


สำเนาบัตรประจำตัวประชาชนผู้ขอ จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาทะเบียนบ้านผู้ขอและเด็ก จำนวน 1 ฉบับ


สำเนาใบมรณบัตรของบิดามารดา จำนวน 1 ฉบับ

-----------------------------------------------------------------------------------------------------


                การสงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี


             ตามประกาศกระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เรื่อง กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขการคุ้มครอง การส่งเสริมและการสนับสนุนการ


สงเคราะห์ในการจัดการศพตามประเพณี กำหนดว่า การสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ หมายถึง การช่วยเหลือเป็นเงินในการจัดการศพผู้สูงอายุตามประเพณี รายละ 2,000 บาท


        ผู้สูงอายุที่เสียชีวิตต้องมีคุณสมบัติ ดังนี้


อายุ 60 ปีบริบูรณ์ ขึ้นไป


มีสัญชาติไทย


มีฐานะยากจน


ไม่มีญาติ หรือมีแต่ไม่สามารถจัดการศพตามประเพณี


         เอกสารในการยื่นขอรับการสงเคราะห์


ใบมรณบัตรของผู้สูงอายุ


บัตรประจำตัวประชาชนของผู้ยื่นคำขอ


ทะเบียนบ้านของผู้สูงอายุ และผู้ยื่นคำขอ


หนังสือรับรองว่าเป็นผู้สูงอายุฐานะยากจนจากพนักงานฝ่ายปกครอง หรือกำนัน หรือผู้ใหญ่บ้าน หรือประชาชนตามที่ทางราชการประกาศกำหนด แล้วแต่กรณี


พร้อมด้วยสำเนาบัตรประจำตัวประชาชนของผู้รับรอง


ผู้ยื่นคำขอและผู้รับรองต้องไม่เป็นบุคคลเดียวกัน


ผู้ยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ในการจัดการศพผู้สูงอายุ ต้องนำ ต้นฉบับเอกสาร พร้อมสำเนาเอกสารที่รับรองสำเนาทุกฉบับดังกล่าว จำนวน 2 ชุด ประกอบการ




            ยื่นคำขอ


การยื่นคำขอรับการสงเคราะห์ ให้ยื่นภายในกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่ออกใบมรณบัตร

------------------------------------------------------------------------------------------------


             การให้การช่วยเหลือผู้สูงอายุตามโครงการส่งเสริมและสนับสนุนผู้สูงอายุใช้ชีวิตในชุมชนขึ้นไป


เป็นการดำเนินการเพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ประสบความเดือดร้อนเรื่องอาหารและ/หรือเครื่องนุ่งห่ม โดยไม่เกินวงเงินครั้งละสองพันบาท และจะช่วยได้ไม่เกิน สามครั้งต่อคนต่อปี โดยถือตามปีงบประมาณ


         คุณสมบัติของผู้ที่จะได้รับความช่วยเหลือ


เป็นผู้สูงอายุที่มีอายุ 60 ปีขึ้นไป มีสัญชาติไทย


ประสบปัญหาความเดือดร้อนและมีความจำเป็นในเรื่องดังต่อไปนี้


อาหาร


เครื่องนุ่งห่ม


เอกสารในการยื่นขอรับการช่วยเหลือ


กรณีผู้สูงอายุเป็นผู้ยื่นคำขอด้วยตนเอง


บัตรประจำตัวประชาชนพร้อมสำเนา


ทะเบียนบ้านพร้อมสำเนา


             กรณีบุคคลที่มีส่วนเกี่ยวข้อง ยื่นคำขอรับความช่วยเหลือให้ผู้สูงอายุ


บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้ยื่นคำขอ


บัตรประจำตัวประชาชน และทะเบียนบ้าน พร้อมสำเนาของผู้สูงอายุ


เมื่อได้รับคำขอ เจ้าหน้าที่จะดำเนินการสอบข้อเท็จจริง เพื่อพิจารณาให้การช่วยเหลือต่อไป

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น