โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.)
เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาสาสมัครที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชน และหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากได้พิจารณาว่า ภารกิจด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ได้พิจารณาจากกลุ่มอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนเป็นลำดับแรก ปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ ฯลฯ ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ล้วนปฏิบัติ งานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งสิ้น การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ได้เข้าใจ ตระหนึกถึงความสำคัญของการพัฒนาสังคมและ ความมั่นคงของมนุษย์ ได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นของตนเองและเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในหมู่บ้านและชุมชนของตน จะทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนา สังคมไปสู่สังคมแห่งสันติสุข เอื้ออาทร น่าอยู่และยั่งยืน
รายละเอียด
โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์
โครงการอาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) เป็นโครงการเพื่อสนับสนุนและส่งเสริมให้อาสาสมัครที่มีอยู่อย่างหลากหลายในชุมชนและหมู่บ้านได้เข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เนื่องจากได้พิจารณาว่า ภารกิจด้านการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ มีขอบเขตกว้างขวางเกี่ยวข้องกับประชากรทุกกลุ่ม ซึ่งในที่นี้ได้พิจารณาจากกลุ่มอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนเป็นลำดับแรก ปัจจุบันอาสาสมัครที่มีอยู่ในชุมชนท้องถิ่นมีหลายประเภท และปฏิบัติงานหลากหลายด้าน เช่น อาสาสมัครสาธารณสุข อาสาสมัครต่อต้านยาเสพติด อาสาสมัครคุมประพฤติ ฯลฯ ซึ่งอาสาสมัครเหล่านี้ล้วนปฏิบัติงานเกี่ยวข้องกับการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ทั้งสิ้น การส่งเสริมให้กลุ่มอาสาสมัครเหล่านี้ได้เข้าใจ ตระหนึกถึงความสำคัญของการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้เรียนรู้ถึงบทบาทหน้าที่ที่จะเข้ามามีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานเพื่อการพัฒนาสังคมในท้องถิ่นของตนเองและเป็นอาสาสมัครเพื่อพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) ในหมู่บ้านและชุมชนของตน จะทำให้เกิดเครือข่ายการทำงานในระดับพื้นที่ที่จะเป็นพื้นฐานพลังสำคัญในการพัฒนาสังคมไปสู่สังคมแห่งสันติสุข เอื้ออาทร น่าอยู่และยั่งยืน
อาสาสมัครพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ (อพม.) คือ อาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้านต่าง ๆ ในชุมชนอยู่แล้ว และสนใจเข้ามามีส่วนร่วมในการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ เพื่อท้องถิ่นของตนเอง
บทบาทหน้าที่ อพม.
1.นำเสนอข้อมูลสถานการณ์ปัญหาสังคมที่เกิดขึ้นในชุมชน และผู้ได้รับผลกระทบเพื่อนำไปสู่การเฝ้าระวังหรือป้องกันและแก้ไขปัญหา (ชี้เป้า เฝ้าระวัง)
2.ประสานการดำเนินงานกับเครือข่ายทุกระดับ ทั้งการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหา การป้องกันแก้ไขปัญหา และการฟื้นฟูผู้ประสบภัยธรรมชาติ (เชื่อมกลุ่มเดิม-สร้างเสริมกลุ่มใหม่)
3.ผลักดันหรือกระตุ้นให้ชุมชนร่วมกันจัดทำแผนชุมชนเพื่อการป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมของชุมชน (ร่วมใจทำแผนชุมชน)
อาสาสมัครกับการพัฒนาสังคม
อาสาสมัคร หมายถึง บุคคลที่อาสาเข้ามาช่วยเหลือสังคมด้วยความสมัครใจ เสียสละเพื่อช่วยเหลือผู้อื่นในการป้องกันแก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทน งานอาสาสมัครถือเป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคม และบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครถือเป็นบุคคลที่ควรแก่การยกย่องสรรเสริญ สังคมไทยยุคปัจจุบันมีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปและปัญหาสังคมก็เพิ่มมากขึ้น การแก้ไขปัญหาสังคมเป็นเรื่องละเอียดอ่อน ต้องใกล้ชิดปัญหาและมีการดำเนินการที่ต่อเนื่อง ดังนั้น จึงจำเป็นต้องอาศัยการมีส่วนร่วมจากทุกภาคส่วน
ประกอบกับปปัจจุบันกำลังคนภาครัฐลดลง การมีอาสาสมัครเข้ามาช่วยบรรเทาปัญหาบ้านเมือง จึงนับว่าเป็นประโยชน์อย่างยิ่งต่อประเทศชาติ
กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์มีนโยบายในการสร้างเครือข่าย เพื่อเป็นกลไกลสำคัญ สำรวจ เฝ้าระวังและรายงานสถานการณ์ทางสังคมตลอดจนข้อมูลผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนและดำเนินการป้องกัน แก้ไขโดยประสานกับองค์กรชุมชนหรือหน่วยงานทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่เกี่ยวข้องเพื่อดำเนินยการต่อไป ประสานการช่วยเหลือผู้ประสบปัญหาความเดือดร้อนให้คำปรึกษาและแก้ไขปัญหาเบื้องต้น เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารด้านการพัฒนาสังคมส่งเสริมและสนับสนุนการสร้างเครือข่าย อาสาสมัครและการจัดสวัสดิการชุมชนและการจัดทำแผนงานโครงการด้านสังคมในชุมชน บำเพ็ญประโยชน์อื่นๆเพื่อสังคม
นโยบายการพัฒนางานอาสาสมัคร
งานอาสาสมัครเป็นงานที่มีคุณค่าต่อสังคม และบุคคลที่เข้ามาเป็นอาสาสมัครได้เสียสละเวลาอันมีค่า ตลอดจนความสุขส่วนตัว เพื่อช่วยเหลือผู้อื่นหรือทำประโยชน์ให้แก่สังคม โดยไม่หวังสิ่งตอบแทนนั้นควรแก่การยกย่องสรรเสริญ โดยเฉพาะในสังคมไทยยุคใหม่ที่มีความหลากหลายทางวัฒนธรรม วิถีชีวิตที่เปลี่ยนไปทำให้เป็นปัญหาทางสังคมการที่มีอาสาสมัครเข้ามาช่วยรัฐบาลบรรเทาปัญหาของบ้านเมืองนั้น นับว่าเป็นคุณประโยชน์อย่างยิ่งและสอดคล้องกับทุกภาคส่วนในการเข้ามามีส่วนร่วม ในการจัดการกับปัญหาที่เกิดขึ้นในสังคม
ดังนั้นเพื่อเป็นการส่งเสริมและพัฒนางานอาสาสมัคร รัฐบาลจึงกำหนดนโยบายการพัฒนางานอาสาสมัครดังนี้
๑. ส่งเสริมสนับสนุนอาสาสมัครอย่างจริงจัง โดยการพัฒนาอาสาสมัครให้มีความรู้ ความสามารถ อุดมการณ์และคุณธรรม เพื่อจะได้เป็นพลังสำคัญในการสงเคราะห์ผู้มีปัญหา การป้องกัน แก้ไขปัญหาและพัฒนาสังคม พัฒนาองค์การ และการส่งเสริมความมั่นคงของชาติ
๒. ส่งเสริมสนับสนุนการบริหารจัดการงานอาสาสมัคร เพื่อให้ภาครัฐและภาคเอกชนที่มีอาสาสมัคร ได้บริหารจัดการงานอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพและประสิทธิผล
๓. จัดตั้งองค์การอาสาสมัครระดับชาติ โดยให้มีคณะกรรมการส่งเสริมและประสานงานอาสาสมัครแห่งชาติ ประกอบด้วย ผู้แทนของหน่วยงานภาครัฐ องค์การเอกชน และอาสาสมัคร มีอำนาจหน้าที่ในการกำหนดนโยบาย แผนงาน ส่งเสริมสนับสนุน ประสานงาน ติดตาม และประเมินผล การปฏิบัติงานของอาสาสมัคร
๔. ส่งเสริมการจัดตั้งสถาบันหรือศูนย์ฝึกอบรมอาสาสมัคร ทั้งในระดับชาติและระดับจังหวัด เพื่อจัดให้มีการฝึกอบรมอาสาสมัครประเภทต่างๆให้อาสาสมัครเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถ อุดมการณ์ คุณธรรมและมาตรฐานในการปฏิบัติงาน
๕. จัดตั้งศูนย์อาสาสมัครระดับชาติ ระดับจังหวัดและระดับท้องถิ่น เพื่อเป็นศูนย์ข้อมูลกลางในการแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสาร ประสบการณ์ ส่งเสริมสนับสนุน และประสานงานของอาสาสมัคร รวมทั้งจัดทำทะเบียนอาสาสมัครและให้อาสาสมัครได้ปฏิบัติงานในหน่วยงานที่ตรงกับความสนใจ
๖. จัดทำคู่มือปฏิบัติงานสำหรับอาสาสมัครประเภทต่างๆเพื่อช่วยให้อาสาสมัครได้ปฏิบัติหน้าที่อย่างมีประสิทธิภาพ ได้มาตรฐานและมีผลงานที่เป็นประโยชน์ต่อประชาชนสังคมและประเทศชาติ
๗. ประชาสัมพันธ์งานอาสาสมัครให้เป็นที่แพร่หลาย เป็นที่รู้จัก ยอมรับของภาครัฐ ภาคเอกชน และประชาชนโดยทั่วไป
๘. จัดให้มีสวัสดิการ ส่งเสริมขวัญกำลังใจและให้การยกย่องอาสาสมัคร รวมทั้งหน่วยงาน องค์การที่มีอาสาสมัครที่ปฏิบัติงานด้วยความเข้มแข็ง เสียสละ มีผลงานดีเด่นที่เป็นประโยชน์แก่ประชาชน สังคม และประเทศชาติ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนให้ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชน ได้ปฏิบัติงานอาสาสมัครโดยไม่ถือเป็นวันลา ทั้งนี้ จะต้องไม่มีผลทำให้เกิดความเสียหายต่องานราชการ
๙. ให้การสนับสนุนการจัดงานวันอาสาสมัครไทย ทั้งในระดับชาติ และระดับจังหวัด เพื่อส่งเสริมสนับสนุน บทบาทและความสำคัญของอาสาสมัครและงานอาสาสมัคร
๑๐. ปลูกจิตสำนึกและจิตวิญญาณของอาสาสมัคร ในบุคคลกลุ่มต่างๆทั้งเด็กเยาวชน ประชาชน ตลอดจนนักการเมือง ข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานเอกชนในการทำงานเพื่อสังคม
๑๑. ให้มีกฎหมายหรือระเบียบรองรับสถานภาพของอาสาสมัคร ให้การคุ้มครองและเอื้อประโยชน์ต่อการปฏิบัติงานของอาสาสมัครได้อย่างมีประสิทธิภาพ
๑๒. จัดตั้งสภาอาสวาสมัครแห่งชาติเป็นองค์การอิสระ โดยหน่วยงานและองค์การทีมีอาสาสมัครเป็นสมาชิก เป็นผู้บริหารงานโดยได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐ
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น